สุทรพจน์ ของ ฯพณฯ ฟูกุดะ

สุทรพจน์ ของ ฯพณฯ ฟูกุดะ
 
กรุงมะนิลา  ฟิลิปปินส์
๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ. 1977)
 
 
การเดินทางเยือน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของข้าพเจ้า ซึ่งเริ่มต้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ด้วยการ พบปะผู้นำ ประชาคมอาเซียน และกำลังจะสิ้นสุดลงในขณะนี้ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีในโอกาสที่เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมนี้ และการได้สัมผัส ประสบการณ์พิเศษจากการเดินทางครั้งนี้ด้วย   ข้าพเจ้าของโอกาสแบ่งปันความคิดบางอย่างกับท่านทั้งหลาย ณ ที่นี้ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดของเรา
 
ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วยความประทับใจอย่างมากที่ข้าพเจ้าได้รับในการเดินทางครั้งนี้
 
ภูมิภาคที่ข้าพเจ้าได้มาเยือนนี้เป็นดินแดนที่งดงามและอุดมไปด้วยความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษา และศาสนา ในเชิงอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นและในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความผสมผสานหรือมีความเป็นเอกภาพในภูมิภาคหนึ่งของโลก จึงไม่น่าประหลาดใจที่ บางคนจึงมีความสงสัย ในศักยภาพ
ความร่วมมือร่วมแรงภายในภูมิภาคนี้
 
กระนั้นเองชาติทั้งหลายที่รวมตัวกันเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่ง  เพิ่งได้ร่วมกันเฉลิมฉลองทศวรรษแรกของประชาคมนี้ขณะนี้กำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการสถาปนาสู่ความเป็นภูมิภาค  ที่พึ่งพิงตนเองจากความสัมพันธ์ใน  ภูมิภาการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่เกาะบาหลีนั้นเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาคและความสำเร็จแห่งการประชุมสุดยอดผู้นำซึ่งเพิ่งจบลงในครั้งนี้ ยืนยันความเชื่อในความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ในอันที่จะผนึกกำลังความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาคอย่างไม่หวนคืนกลับได้
 
นั่นหมายความว่า ประชาคมอาเซียนอุบัติการณ์ทางประวัติศาสตร์ และความสำเร็จของความพยายามในการแสวงหา และสรรค์สร้างเอกลักษณ์ของภูมิภาคนี้โดยการสร้างเสริมความเป็นปึกแผ่นในขณะเดียวกันตอกย้ำใน   ความมั่งคั่ง แห่งความหลาย หลากของประเทศสมาชิก และในขณะเดียวกันในความเคารพต่อความเป็นชาตินิยม ของประเทศภาคีแต่ละประเทศอีกด้วย  ข้าพเจ้าได้เห็นและเกิดความประทับใจจากการแสดงออกของความอุตสาหะที่สร้างสรรค์นี้ความทุ่มเทอย่างจริงจังในการสร้างความเป็นปึกแผ่น ประชาคมอาเซียน ผู้นำประเทศเหล่านี้ข้าพเจ้าได้พบปะด้วยความยินดีในกรุงกัวลาลัมเปอร์  
 
ความเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียนที่มีความแข็งแกร่งเกิดจาการความสำเร็จของการร่วมมือของประเทศสมาชิก ยังให้เกิดโอกาสใหม่ๆที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกันอันเป็นประโยชน์และก่อนให้เกิดการสร้างความเข้มแข็ง  ในการรวมตัวเป็นปึก
แผ่นกันมากยิ่งขึ้นไปอีกพลวัตรนี้ในไม่ช้านี้และกระบวนการในการขับเคลื่อนตนเองซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นการ  สร้างคุณลักษณะทิศทางในอนาคของประชาคมอาเซียนความก้าวหน้าสู่ความเป็นปึกแผ่นในภูมิภาคนี้อาจ ชะลอตัวลงเป็นครั้งคราวเมื่อเปรียบเทียบกับ ภูมิภาคที่มีความหลากหลายน้อยกว่าเช่น ยุโรปตะวันตก
 
กระนั้นขอโอกาสข้าพเจ้านำเสนอความช่วยเหลือต่อผู้นำทั้งหลายและประชาชนของประชาคมอาเซียน  การนำเสนอ ของข้าพเจ้านี้คือรัฐบาลและประชาชนชาวญี่ปุ่นจะไม่มีความสงสัยลังเลเป็นผู้ผ่านไปมากรณีความ พยายามของประชาคมอาเซียนที่จะบรรลุความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นและภูมิภาคที่ใหญ่โตขึ้นมีความเป็นปึกแผ่น แต่จะเป็นผู้ร่วมงานที่ดี จับมือร่วมเดินกัน ร่วมกับประชา
คมอาเซียน
 
ผู้นำรัฐบาลของประชาคมอาเซียน รัฐบาล ในระหว่างการประชุมเมื่อไม่นานมานี้ของเรา ได้เรียกประเทศญี่ปุ่นว่า
“เป็นเพื่อนที่ใกล้ชิดพิเศษของประชาคมอาเซียน” เพื่อนแท้คือผู้ที่มอบความเข้าใจและความร่วมมือ ไม่ใช่เฉพาะแต่ในช่วงเวลาที่อากาศสดใส แต่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากด้วยเช่นกัน  ข้าพเจ้ารู้ว่า ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นมิตรเช่นนี้ของประชาคมอาเซียน
 
     ถึงวาระนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะเอ่ยถึงพื้นฐานสำคัญของประเทศญี่ปุ่นเล็กน้อย และสถานภาพของประเทศญี่ปุ่น วันนี้บทบาทในเวทีโลกจากมุมมองของญี่ปุ่นและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายของความสัมพันธ์ของเรากับประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อนของเราในเอเซีย
 
ตลอดระยะเวลาสามสิบปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ยุคของสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ชาวญี่ปุ่นทำงานหนัก และสร้างสังคมเสรีประชาธิปไตยตลอดสามทศวรรษนี้ระบอบการค้าเสรีทำให้ประเทศญี่ปุ่นเติบโต  เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกพร้อมกับประชากร 110 ล้านคน ซึ่งมี ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (Gross National Product) 5 แสนล้านดอลล่าร์ ความมุ่งมั่นและความสามารถ การมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมในการเจริญเติบโตทางเศรษกิจ และการพัฒนาของโลก
 
ในประวัติศาสตร์ของโลกประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจย่อมเป็นประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางทหารไปพร้อมกันด้วย อย่างไรก็ตามประเทศของเราได้ดำรงตนในอุดมการณ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ในประวัติศาสตร์การดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัย และความยั่งยืนของความยุติธรรมและมิตรไมตรีของประเทศทั้งหลายประเทศของเราได้เลือกที่จะไม่สร้างแสนยานุภาพทางทหาร
แม้ว่าเราจะมีความขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่สร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้ก็ตาม เราเลือกที่จะไม่มีอาวุธพวกนั้น
 
นี่คือการทดลองที่ท้าทายอย่างไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนในประวัติศาสตร์อย่างไรก็ตามข้าพเจ้ามั่นใจว่าไม่มีทางเลือกอื่น
สำหรับประเทศญี่ปุ่นประเทศของข้าพเจ้าซึ่งมีประชากรหนาแน่นและทรัพยาการทางธรรมชาติที่จำกัดซึ่งอยู่รอดได้ด้วยการ มีปฏิสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างเสรีกับทุกประเทศ
 
ยิ่งไปกว่านั้นข้าพเจ้าเชื่อว่าเส้นทางที่ประเทศญี่ปุ่นเลือกที่จะเดินนี้เป็นเส้นทางที่สร้างประโยชน์สูงสุดในเอเชีย และท้ายที่สุดก็จะส่งผลดีแก่ชาวโลกทั้งปวงด้วยประเทศญี่ปุ่นย่อมไม่คุกคามประเทศเพื่อนบ้าน ของเราไม่ว่าจะเป็นในทางทหาร
หรือในรูปแบบอื่นๆย่อมเป็นพลังในการสร้างความมั่นคงให้แก่โลกและทุ่มสรรพกำลังเพื่อเสริมสร้างสันติภาพ และกิจกรรม ที่เป็นไปเพื่อความสร้างสรรค์ทั้งหลายทั้งในระดับประเทศและระดับสากลด้วยเหตุนี้เอง  ประเทศญี่ปุ่นสามารถ  ที่จะเป็นผู้ประศาสน์ สันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาแก่โลกนี้ได้ดีที่สุด
 
ข้าพเจ้ากล่าวเสมอว่าเรากำลังอยู่ในยุคสมัยของการประสานความร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นในหมู่มนุษยชาติไม่มี
มนุษย์คนใดที่มีชีวิตอยู่ได้ลำพังผู้เดียว  สังคมดำรงอยู่ได้เพื่อรับใช้ประชาชนแต่ละคนทั้งหญิงชายให้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเราต้องแบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   ขณะที่สังคมมีการพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป มนุษย์แต่ละคนจำต้องแสวงหาโอกาสที่สูงยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อบรรลุความต้องการของตนเองอย่างสมบูรณ์
 
     เช่นเดียวกันประชาคมโลกจำต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น ไม่มีชาติใดสามารถอยู่รอดตามลำพังได้ ทุกชาติจำต้องเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน แบ่งปันความรับผิดชอบให้กันและกันในประชาคมโลก  และในขณะที่ประชาคมโลกก้าวหน้าต่อไปชาติแต่ละชาติย่อมพบโอกาสที่จะสร้างโอกาสที่ใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อสร้างความสำเร็จของแรงบันดาลใจแก่ประชาชนของตน
 
หลักการนี้ทำให้เกิดการกระชับแน่นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและมิตรประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างพิเศษ
 
มันไม่เพียงพอที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราที่จะวางอยู่แบนพื้นฐานของวัตถุธรรม และผลพลอยได้ทางเศรษฐกิจเท่านั้น ความสัมพันธ์เชิงวัตถุ และเศรษฐิกจพึงความมุ่งมั่นที่จะวางอยู่บนพื้นฐานของความมุ่งมั่นอย่างบริสุทธิ์ใจที่จะช่วยเหลือ และเกื้อกูลกันและกันทดแทนในกันและกันในฐานะเพื่อนชาวเอเซียด้วยกัน
 
นี่คือสาส์นทีข้าพเจ้านำไปทุกที่ นำขึ้นปราศัยซ้ำแล้วซ้ำอีกในทุกแห่งตลอดการเดินทางเที่ยวนี้ เพื่อย้ำความจำเป็นของการสื่อสารจากใจถึงใจ ซึ่งต้องประกอบด้วย หัวใจและสมองของเรา ซึ่งข้าพเจ้าเรียกอีกนัยหนึ่งว่า
“จากใจถึงใจ” นั้นคือการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนชาวญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
ท่านทั้งหลายผู้เป็นสหายชาวเอเซียทั้งหลายย่อมจะเข้าใจว่าข้าพเจ้ากำลังหมายถึงอะไรเพราะนี้คือประเพณีของพวกเรา
ชาวเอเซียและมันฝังลึกในหัวใจของเรา ทำให้เราแสวงหาสิ่งที่สูงส่งยิ่งไปในอันที่จะก้าวล่วงความพึงพอใจในวัตถุธรรมเพื่อเข้าสู่
ความมั่งคั่งทางจิตวิญญาณ
 
ข้าพเจ้าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องย้ำถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรมว่าจะเป็นสิ่งที่สร้างความเข้าใจซึ่ง
กันและกันในระดับลึกซึ้งและสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นจากใจถึงใจจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งและระหว่างประชาชน  ที่หลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับประเทศญี่ปุ่น
 
ทุกวันนี้ประเทศญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโครงการมากมายในอันที่จะแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์การกีฬาและสาขาวิชาแขนงต่างๆซึ่งกันและกันการแนะนำวัฒนธรรมญี่ปุ่นแก่เพื่อนบ้านของเรานั้นมิได้มีเพี่ยงเส้นทาง
เดียว เราทั้งหลายกำลังเผยแพร่วัฒนธรรมอันเก่าแก่และยิ่งใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แก่ชาวญี่ปุ่นเช่นกัน
 
ไม่จำเป็นที่ต้องกล่าวว่าการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนั้นเป็นการสื่อสารสองทางระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศชาติทั้งหลายในประชาคมอาเซียนต้องมีความเข้มข้นมากว่านี้  สำนึกของความเป็นปึกแผ่นต้องเพิ่มพูนขึ้นประเทศทั้งหลายในภูมิภาคนี้ นับวันการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นท่ามกลางชาติทั้งหลายในประชาคมอาเซียนในเชิงวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และภูมิภาคศึกษาจากมุ่มมองนี้เองข้าพเจ้าขอยืนยันว่าประเทศญี่ปุ่นพร้อมที่จะร่วมมือ อย่างเป็นรูปธรรม  ในการตอบสนองต่อประชาคมอาเซียนในโครงการทั้งหลายที่จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนระหว่างภูมิภาคจุดนี้เป็นการแสดงออกถึงความ  ชื่นชม
ของประชาชนญี่ปุ่นต่อความต้องการของประชาชนของประเทศทั้งหลายในประชาคมอาเซียนในอันที่จะส่งเสริมความเข้าใจ
ระหว่างประเทศต่อกันและในภูมิภาคนี้
 
    เป็นที่น่ายินดีที่ผู้นำประเทศทั้งหลายของประชาคมอาเซียนทั้งหมดได้รับรองข้อเสนอนี้ของข้าพเจ้าซึ่งเข้ากับกาลสมัย
เมื่อข้าพเจ้าได้พบปะกับพวกเขาและข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าในไม่ช้านี้เราจะได้นำถอดแบบความคิดนี้ออกเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้  
 
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อข้าพเจ้าตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ ต่อข้อเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือ ด้วยเงินจำนวนหนึ่งพัน  ล้านเหรียญสหรัฐแก่ประชาคมอาเซียนสำหรับโครงการด้านอุตสาหกรรมทั้งหลายเพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าเพราะมันเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องสนองตอบจากใจถึงใจ เพื่อสร้างความเข้าใจสู่หัวใจของประชาชนชาติต่างๆ  ในประชาคมอาเซียผู้ต้องการเห็นความแข็งแกร่ง ของภูมิภาคความเป็นปึกแผ่นอย่างเร่งร้อนข้าพเจ้าคาดว่าความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นจะเร่งรัดโครงการต่างๆ  เหล่านี้ให้บรรลุผลซึ่งมีนัย    
สำคัญทางประวัติศาสตร์ ในการทดลองการแบ่งหน้าที่ภาระงานภายในภูมิภาคและ นั่นเป็นสิ่งที่จะเพิ่มแรงขับเคลื่อนความเข้มแข็ง และการพัฒนาความพยายามระหว่างองคาพยพอื่นอีกในประชาคมอาเซียน
 
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบายที่จะเพิ่มความช่วยเหลือเป็นทวีคูณในภูมิภาคนี้ในระยะ 5 ปีต่อไปนี้ เราคาดหวังว่าความช่วยเหลือที่สำคัญในภูมิภาคนี้จะอยู่ในรูปของโครงการอุสาหกรรมต่างๆ หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันเราจะเพิ่มความร่วมมือในเขตภูมิภาคนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในส่วนที่เป็น สวัสดิการของประชาชน กสิกรรม สุขภาพ และการศึกษา
 
อาจเป็นที่สังเกตได้ว่าครึ่งของครึ่งหนึ่งของงบประมาณความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการของ
ประเทศญี่ปุ่นในขณะนี้มุ่งตรงไปยังประเทศทั้งหลายในภูมิภาคประชาคมอาเซียและเมียนมาร์  และเรายังมีความสัมพันธ์อย่างแนบ
แน่นทางเศรษฐกิจกับอีก 6 ประเทศ การติดตามผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำ  ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ผ่านมารวมทั้งการพบปะ
ผู้นำทั้งหลายในประเทศเหล่านี้ ณ เมืองหลวงของแต่ละประเทศเป็นการส่วนตัว เรายืนยันที่จะพูดคุยกับ ประเทศทั้งหลาย เหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพื่อในอันที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้นไป ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวว่า  ในฐานะที่ประเทศของเราเป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่นหลีกเลียงมิได้ที่จะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบที่จะดูแล 
เศรษฐกิจของโลกทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการค้า โลกที่ถูกแบ่งแยกออกเป็นระบบเศรษฐกิจเป็นส่วนๆ เสี่ยงต่อการนำโลกทั้งหมดไปสู่หายนะโลกในรูปแบบเช่นนี้เป็นวิถีที่สวนทางกับประโยชน์ของประเทศทั้งหลายในประชาคม
อาเซียนซึ่งมีอานาคตผูกพันธ์อยู่กับการส่งออกและตลาดการค้าไปทั่วโลกในการที่จะแสวงหาการกระชับแน่นทางการค้าขายเป็น
พิเศษและความสำคัญทางเศรษฐกิจกับประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียนเราจำต้องปฏิบัติทุกอย่างด้วยความเข้าใจในผลประโยชน์ระยะยาวของกันและกัน และขยายผลประโยชน์และสถานต่างๆในประชาคมเศรษฐกิจโลก เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมุ่ง หน้าสร้างความร่วมมือ  ที่ยั่งยืนระหว่างประเทศญี่ปุ่น และประเทศทั้งหลายในประชาคมอาเซียน
 
ท้ายที่สุดนี้ เราทุกคนตระหนักในความมั่นคงในอนาคตและความมั่งคั่งของประชาคมอาเซียนจะมั่นคงอยู่ได้ ภายในกรอบแห่งสันติภาพก้าวหน้าไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น บัดนี้ทศวรรษของสงคราม และการทำลายล้างได้จบลงแล้ว เราทั้งหลายมีโอกาสที่จะทำงานร่วมกันเพื่อสรรค์สร้าง สันติภาพที่ยั่งยืนและภูมิภาคนี้ที่ที่มั่นคงทั้งหมด ข้าพเจ้าขอโอกาสที่จะของคารวะต่อประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียนทั้งหลาย ซึ่งได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมในการประชุมสุดยอดผู้นำประชาคมอาเซียน ความปรารถนาที่จะพัฒนาสันติภาพ และความสัมพันธ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อกันกับประเทศทั้งหลายในอินโดจีน เป็นนโยบายร่วมกันใน
“การผลักดันให้เกิดความพยายามที่จะขยายขอบเขตพื้นที่แห่งความเข้าใจและความร่วมมือที่มีประโยชน์เกื้อกูลทั้งสองฝ่าย อย่างเท่าเทียมกันกับประเทศทั้งหลาย” ข้าพเจ้าเชื่อว่าความพยายามที่ไม่ลดละนี้จะในที่สุดจะขยายขอบเขต   ของความความเข้าใจต่อกันและกัน และความเชื่อมันไปตลอดภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันนี้ ประเทศญี่ปุ่นจะแสวงหาความสัมพันธ์กับ ประเทศทั้งหลายในอินโดจีน บนพื้นฐานอันมั่นคงของความเข้าใจของกันและกัน 
 
ข้าพเจ้าได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวนี้ในที่ประชุมกับผู้นำชาติทั้งหลายแห่งประชาคมอาเซียน   และในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาในเมียนมาร์และยังได้มอบกรอบของกฎเกณฑ์ของนโยบายของประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าภาระกิจการเดินทางครั้งนี้ของข้าพเจ้าประสบผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในฐานะตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น เนื่องด้วยข้าพเจ้าได้รับการตอบรับอย่างสมบูรณ์แบบจากผู้นำประเทศทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้แวะไปเยือน ข้าพเจ้าใคร่ของสรุปประเด็นของนโยบายทั้งหลายดังต่อไปนี้
 
ประการแรกประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติที่ยึดมั่นในสันติภาพปฏิเสธบทบาทที่จะมีแสนยานุภาพทางการทหารและการเคารพในหลักการ นี้เพียงอย่างเดียวเท่ากับเป็นการเสริมสร้าง สันติภาพ และความมั่งคั่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประชาคมโลก
 
ประการที่สองประเทศญี่ปุ่นในฐานะมิตรแท้ของประเทศทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำดีที่สุดที่จะกระชับแน่นความสัมพันธ์และความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของ “จากใจถึงใจ” ความเข้าใจกับประเทศเหล่านี้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงด้านสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย
 
ประการที่สาม ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นมิตรเคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศทั้งหลายในประชาคมอาเซีย และ ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับประเทศในภูมิภาคนี้ ในอันที่จะเสิรมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความยืดหยุ่นพร้อมไปกับชาติอื่นๆ ภายนอกภูมิภาคนี้ขณะเดียวกันจะพอกพูนความสัมพันธ์ซึ่งวางอยู่บนรากฐานของความเข้าใจต่อกันกับประเทศทั้งหลายในอินโดจีและซึ่งในที่สุดคือการสร้างสันติภาพและความมั่งคั่งแผ่ไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้
 
ข้าพเจ้ามุ่งมั่นที่จะนำสามเสาหลักแห่งนโยบายของประเทศญี่ปุ่นประยุกต์ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ข้าพเจ้าหวังว่าเราอาจปูรากฐานอันมั่นคงแห่งกรอบความร่วมมือเสริมด้วยความเข้าใจต่อกันและกันความเชื่อมั่นและความมั่นใจ  ไปตลอดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างทั่วถึงโดยที่การร่วมมือซึ่งกันและกันนี้  คือการตอกย้ำความเพียรพยายามที่เราจะเป็นผู้ให้กำลัง แก่สันติภาพและความมั่งคั่งในเอเชีย และความสวัสดีแก่ประชาคมโลกทั้งหมดด้วย
 
ท่านปธานาธิบดี ประชาชนของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
 
กิจกรรมแรกของข้าพเจ้า เมื่อมาเยือนกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวานนี้ คือ การเข้าคารวะอนุสาวรีย์ ดร.โวเซ ริซัล (Dr. Jose Rizal)  ผู้เป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้มีโอกาสวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ของท่าน  อันที่จริงชาวฟิลิปปินส์เป็นชนชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้จุดประกายไฟของกระบวนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพขึ้น สำหรับวันนี้มิติใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปิดขึ้นแล้ว ไม่เพียงแต่ว่าสาธารณะรัฐฟิลิปปินส์ ภายใต้การนำของ ฯพณฯ ควรที่จะริเริ่มสานโอกาสต่อจาก นี้ขยายความร่วมมือสู่ภูมิภาค ประชาคมอาเซียน และความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาความแตกต่างของเศรษฐกิจ ฐานะระหว่างประเทศที่ร่ำรวมและยากจนในโลก
 
เรากำลังพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและชาติทั้งหลายแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียง  ใต้ เรากำลังก้าวสู่ความสัมพันธ์ในระดับที่สูงยิ่งๆขึ้นซึ่งเป็นความเชื่อมันในกันและกันสานสัมพันธ์ความเข้าใจอันตั้งอยู่บนรากฐานของ“ใจถึงใจ”  ท่านปธานาธิบดีที่เคารพข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านและประชาชนของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์จะมีบทบาทความเป็นผู้นำระดับแนวหน้าในกรณีนี้ด้วย
 
ขอบคุณครับ
ซาลามัต โปะ

กลับ